วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2560

ภิกษุกับสตรี

     ก่อนกาลปรินิพพาน ขณะที่พระพุทธองค์ทรงสำเร็จ สีหไสยา อยู่ระหว่างไม้สาละทั้งคู่ เมืองกุสินารานั้น พระอานนท์ได้กราบทูล ถึงข้อปฏิบัติระหว่างภิกษุกับสตรีเพศ ว่าภิกษุควรจะวางตัวอย่างไร
     พระพุทธองค์รับสั่งว่า
     “การไม่เห็น อานนท์”
     พระอานนท์กราบทูลต่ออีก
     “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เมื่อการเห็นมีอยู่ จะพึงปฏิบัติอย่างไร ?
     พระพุทธองค์รับสั่งอีกว่า
     “การไม่เจรจา อานนท์”
     พระอานนท์ยังไม่สิ้นสงสัย กราบทูลอีก
     “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญเมื่อต้องเจรจาจะพึงปฏิบัติอย่างไร ?
     พระพุทธองค์รับสั่งในที่สุดว่า
     “พึงตั้งสติไว้ อานนท์”

ขยายความ การไม่เห็น คือไม่ดูเสียเลยนั่นเอง นี่เป็นด่านแรก
     ด่านที่สอง การไม่เจรจา คือไม่พูด
     ด่านที่สาม เมื่อจำเป็นต้องพูดก็พึงตั้งสติไว้ คือให้มีสติก่อนจึงค่อยพูด
     สตรีจัดเป็นมลทินหรือตัวอันตราย ของภิกษุประการหนึ่ง ถ้าภิกษุไม่เอื้อเฟื้อในพระพุทธดำรัส ที่ได้ยกมาไว้ข้างต้น จะดำรงอยู่ในเพศภิกษุไม่ได้นาน หรือถ้าขืนอยู่ไป ก็จะมีแต่ผลทินโทษ เป็นที่รังเกียจของเพื่อนนักบวชที่ดี และเป็นที่ตำหนิของชาวบ้านด้วย
     การไม่ดู (อทัสสนัง) การไม่เห็นเพศตรงข้ามของพระ จัดเป็นความปลอดภัยในเพศบรรพชิต และเป็นการปิดกั้นราคะ ความกำหนัดยินดี ในเพศตรงข้ามได้อย่างดี
     การไม่พูด (อนาลาโป) ในบางครั้งจำเป็นต้องดู ต้องเห็น แต่ไม่ควรจะพูดจาด้วย ถ้าทำใบ้ทำหนวกเสียบางครั้งจะเกิดความสงบใจ
     พึงตั้งสติไว้ (สติ อุปัฏฐาเปตัพพา) ข้อนี้จะต้องใช้ปัญญา พิจารณาว่าถ้าไม่พูดจะเสียความ ก็ควรตั้งสติและสัมปชัญญะ คือระลึกและรู้ตัวอยู่ทุกขณะว่ากำลังพูดอะไร ? พูดกับใคร ? และพยายามพูดให้น้อยที่สุด
     วิธีปลอดภัยที่สุดในขณะอยู่ต่อหน้าสตรีนั้น ให้พิจารณากฎข้ออนิจจัง อสุภะ กายคตาสติ  และมรณัสติไปด้วยก็จะบรรเทาราคะหรือความคิดลามกได้อย่างดีเยี่ยม
     การที่จะมีสติในการพูด ก็ควรจะต้องมีการฝึกสติไว้ก่อนให้เกิดความชำนาญในขณะพูดจึงจะไม่เผลอ หลักในการฝึกสติที่ดีคืออานาปานสติสูตร











อานาปานสติสูตร (ตอนจบ)

ข้อควรกำหนดในพระสูตรนี้      พระเถระผู้มีนามปรากฏในพระสูตรนี้ เป็นพระเถระยุคต้นพุทธกาล เป็นเอตทัคคสาวก ในจำนวน 43 ท่าน การที่นำเอาชื่อพร...