วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ทางเสื่อมและทางเจริญ

     พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กรุงราชคฤห์ ขณะนั้นเป็นเวลาเช้า พระพุทธองค์เสด็จออกบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ ในระหว่างทางทรงพบกับสิงคาลกะลูกเศรษฐีมีผมเปียก มีผ้าชุ่มด้วยน้ำ กำลังไหว้ทิศทั้ง 6 อยู่
     พระพุทธองค์ได้ตรัสถาม ถึงความมุ่งหมายในการไหว้ทิศ เขากราบทูลว่าบิดาได้สั่งไว้ว่า ให้ไหว้ทิศ 6 ในเวลาเช้ามืดทุกวัน ด้วยความเคารพในคำสั่งสอนของบิดา เขาจึงลุกขึ้นไหว้ทิศทุกวัน แต่ไม่รู้ความมุ่งหมาย
     พระพุทธองค์จึงทรงแนะนำว่า การไหว้ทิศทั้ง 6 นั้น เป็นการกระทำที่ชอบแล้ว แต่ควรจะรู้ความมุ่งหมาย ในการไหว้ทิศอย่างถูกต้องด้วย เขาเกิดความสนใจจึงกราบทูลให้ทรงแสดงความหมาย ของการไหว้ทิศอย่างถูกต้อง ทรงแสดงพอสรุปดังนี้

เหตุแห่งความเสื่อม 6
     1. ดื่มน้ำเมา
     2. เที่ยวกลางคืน
     3. เที่ยวดูการเล่น
     4. เล่นการพนัน
     5. คบคนชั่วเป็นมิตร

โทษของการดื่มน้ำเมา 6
     1. เสียทรัพย์
     2. ก่อการทะเลาะวิวาท
     3. เป็นบ่อเกิดของโรค
     4. ต้องติเตียน
     5. ไม่รู้จักอาย
     6. ทอนกำลังปัญญา

โทษของการเที่ยวกลางคืน 6
1.   ชื่อว่าไม่รักษาตัว
2.   ชื่อว่าไม่รักษาลูกเมีย
3.   ชื่อว่าไม่รักษาทรัพย์สมบัติ
4.   เป็นที่ระแวงของคนทั้งหลาย
5.   มักจะถูกใส่ความ
6.   ได้รับความลำบากมาก

โทษของการดูการเล่น 6

1. รำที่ไหนไปที่นั่น
2. ขับร้องที่ไหนไปที่นั่น
3. ดีดสีตีเป่าที่ไหนไปที่นั่น
4. เสภาที่ไหนไปที่นั่น
5. เพลงที่ไหนไปที่นั่น
6. เถิดเทิงที่ไหนไปที่นั่น


โทษของการเล่นการพนัน

1.ผู้ชนะย่อมก่อเวร
2.ผู้แพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ที่เสียไป
3.ทรัพย์สินย่อมหมดไป
4.ไม่มีใครเชื่อถือถ้อยคำ
5.เป็นที่หมิ่นประมาทของเพื่อน
6.ไม่มีใครประสงค์จะแต่งงานด้วย

โทษของการคบคนชั่ว 6

1.นำให้เป็นนักเลงการพนัน
2.นำให้เป็นนักเลงเจ้าชู้
3.นำให้เป็นนักเลงเหล้า
4.นำให้เป็นคนลวงเขาด้วยของปลอม
5.นำให้เป็นคนลวงเขาซึ่งหน้า
6.นำให้เป็นนักเลงหัวไม้





วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2559

พุทธพจน์

     “ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ
     การได้เห็นภิกษุเหล่านั้นก็ดี การได้ฟังภิกษุเหล่านั้นก็ดี การเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นก็ดี การเข้าไปนั่งใกล้ภิกษุเหล่านั้นก็ดี การระลึกถึงภิกษุเหล่านั้นก็ดี การบวชตามภิกษุเหล่านั้นก็ดี แต่ละอย่าง ๆ เรากล่าวว่ามีอุปการะมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร
     เพราะว่าผู้ที่ได้ฟังธรรมของภิกษุเห็นปานนั้นแล้ว ย่อมหลีกออกอยู่ด้วย 2 วิธี คือ หลีกออกด้วยกายหนึ่ง หลีกออกด้วยจิตหนึ่ง เมื่อเธอหลีกออกอยู่อย่างนั้นแล้ว ย่อมระลึกถึง ย่อมตรึกถึงธรรมนั้น”

ต่อไปนี้เป็นการนำเสนอ ภาคพระสูตร จะเสนอไปเรื่อย ๆ ครับ

อานาปานสติสูตร (ตอนจบ)

ข้อควรกำหนดในพระสูตรนี้      พระเถระผู้มีนามปรากฏในพระสูตรนี้ เป็นพระเถระยุคต้นพุทธกาล เป็นเอตทัคคสาวก ในจำนวน 43 ท่าน การที่นำเอาชื่อพร...